การประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ (SWOC) ครั้งที่ 44/2564
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 นางสาววริษฐา ธนสัมบัณณ์ ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุม คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ครั้งที่ 44/2564 ผ่านระบบ VDO Conference โดยมีนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานในการประชุม
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รายงานสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำจากหน่วยงานต่างๆ และการบริหารจัดการน้ำ โดยมีรายละเอียดดังนี้
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ในช่วงวันที่ 9 – 14 พฤศจิกายน 2564 อากาศจะเย็นลงกับมีลมแรง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก ให้เฝ้าระวังฝนตกหนัก
ปริมาณฝนสะสม (1 มกราคม – 7 พฤศจิกายน 2564) ภาพรวมทั้งประเทศ มีค่ามากกว่าค่าปกติ 9%
รายงานสรุปปริมาณน้ำในเขื่อน กฟผ. ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 โดยเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเกินเกณฑ์ควบคุม 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ (115%) และเขื่อนจุฬาภรณ์ (101%) ส่วนเขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อย 3 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนภูมิพล (61%) เขื่อนสิริกิติ์ (47%) และเขื่อนบางลาง (49%)
สถานการณ์น้ำใช้การในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จำนวน 35 อ่าง ของกรมชลประทาน ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 มีปริมาตรน้ำ 54,462 ล้าน ลบ.ม. (77%) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 30,920 ล้าน ลบ.ม. (65%) โดยอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย (<30%) มีจำนวน 1 แห่ง ได้แก่ อ่างฯ แม่กวงอุดมธารา และมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เกิน Upper Rule Curve (URC) จำนวน 15 แห่ง
น้ำท่าในลำน้ำสายหลักที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เช่น แม่น้ำชี แม่น้ำมูล
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 มีจังหวัดที่เกิดอุทกภัยในรอบ 24 ชั่วโมง ได้แก่ นครศรีธรรมราช และพัทลุง
การประปาส่วนภูมิภาค รายงานสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 สามารถจ่ายน้ำได้ตามปกติ และมี กปภ.สาขาที่ต้องเฝ้าระวังอุทกภัย จำนวน 10 สาขา